TH

ระบบควบคุมการส่องสว่าง

การควบคุมแบบสัญญาณแอนะล็อก

0-10 V
การหรี่แสงสว่างด้วยสัญญาณกระแสไฟฟ้าแบบ 0-10 V เป็นการควบคุมความเข้มของแสงโดยการปรับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่มีในตัวโคมไฟส่องสว่าง ซึ่งอยู่ในช่วง
0 โวลต์ ไปจนถึง 10 โวลต์

ประโยชน์

        • ความเรียบง่ายของระบบไฟส่องสว่างที่สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดาย
        • เหมาะสมสำหรับการควบคุม LED

หมายเหตุ:

        • สัญญาณการควบคุม คือ แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งมีความผันผวนอยู่ระหว่าง 0 โวลต์ และ 10 โวลต์
        • ให้ความสว่าง 100% ที่ 10 โวลต์ และความสว่าง 0% ที่ 0 โวลต์

1–10 V
การหรี่แสงสว่างด้วยสัญญาณกระแสไฟฟ้าแบบ 1-10 V เป็นการควบคุมความเข้มของแสงโดยการปรับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่มีในตัวโคมไฟส่องสว่าง ซึ่งอยู่ในช่วง
1 โวลต์ ไปจนถึง 10 โวลต์

ประโยชน์

        • ความเรียบง่ายของระบบไฟส่องสว่างที่สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดาย
        • เหมาะสมสำหรับการควบคุม LED

หมายเหตุ:

        • สัญญาณการควบคุม คือ แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งมีความผันผวนอยู่ระหว่าง 1 โวลต์ และ 10 โวลต์
        • ให้ความสว่าง 100% ที่ 10 โวลต์ และความสว่าง 10% ที่ 1 โวลต์

PWM (สัญญาณมอดูเลชั่นทางกว้างของพัลส์)
PWM ใช้สำหรับการควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ออกจากตัวแปลงสัญญาณโดยใช้การมอดูเลตความกว้างของพัลส์ออกมาในรูปแบบคลื่น

ประโยชน์

        • ใช้พลังงานต่ำ
        • ประสิทธิภาพสูงถึง 90%
        • สามารถแยกสัญญาณได้ง่าย
        • มีความร้อนน้อยขณะทำงาน
        • สัญญาณรบกวนน้อย
        • มีความสามารถในการจัดการกำลังไฟสูง
        • ข้อกำหนดการใช้งานน้อย
        • ลดค่าความเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมของกระแสโหลด
        • แอมพลิจูดและความถี่สามารถควบคุมได้อย่างเป็นอิสระ
        • ไม่จำเป็นต้องซิงโครไนซ์ระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับ

หมายเหตุ:  

        • ความเร็วของ PWM อยู่ที่ 50-90 Hz (50 f/s)
        • คุณสามารถเห็นการกะพริบเมื่อบันทึกวิดีโอ

TRIAC (Triode AC Switch)
TRIAC เป็นอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับสลับหรือควบคุมพลังงานระบบไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจาก TRIAC สามารถ “เปิด” ได้โดยใช้พัลส์เกตที่เป็นบวกหรือลบ
โดยไม่คำนึงถึงขั้วของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับในขณะนั้น

ประโยชน์

        • สามารถใช้งานได้กับกำลังแรงดันไฟ 230 โวลต์
        • สลับและควบคุมพลังงานระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
        • สามารถกระตุ้นได้ด้วยขั้วบวกหรือขั้วลบของพัลส์เกต
        • ใช้แผงระบายความร้อนขนาดใหญ่เพียง 1 ชิ้น ยกเว้นสำหรับ SCR (ตัวเรียงกระแสชนิดควบคุมด้วยซิลิคอน) ควรมีแผงระบายความร้อนขนาดเล็กกว่า
        • ใช้ฟิวส์เพียงหนึ่งตัว
        • สามารถแยกย่อยได้อย่างปลอดภัยในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ควรมีการป้องกัน SCR (ตัวเรียงกระแสที่ควบคุมด้วยซิลิกอน) ด้วยไดโอดแบบขนาน

หมายเหตุ:  

        • ประสิทธิภาพต่ำและอาจมีการกะพริบหากเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ พร้อมกัน

การควบคุมแบบสัญญาณดิจิทัล

DALI (Digital Addressable Lighting Interface)
DALI (Digital Addressable Lighting Interface) เป็นโปรโตคอลสำหรับควบคุมแสงสว่างแบบดิจิทัลใช้สำหรับการส่องสว่างสถาปัตยกรรม มาตรฐานระดับสากล IEC 60929

ระบบการทำงานของ DALI จะใช้ สายบัส 2 สาย สำหรับการสื่อสาร (รับหรือส่งคำสั่ง/ข้อมูล) รวมถึงจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ DALI ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 16 โวลต์ เมื่อไม่มีการสื่อสาร โดยบัส DALI ช่วยให้สะดวกในการควบคุม กำหนดค่าและการค้นหาผลิตภัณฑ์

ประโยชน์

        • ประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น
        • สามารถควบคุมไฟส่องสว่างแต่ละดวงและสร้างกลุ่มแบบไดนามิก (1 วงจรไฟฟ้า)
        • สามารถกำหนดค่าและปรับค่าใหม่สำหรับการเปลี่ยนซีนแสง
        • อินเตอร์เฟซใช้งานง่ายพร้อมกับระบบการควบคุมและการจัดการอาคาร
        • ทุกยูนิตในระบบสามารถระบุแอดเดรสได้
        • ง่ายต่อการปรับแต่งและต่อขยาย
        • ใช้สายไฟเพียงคู่เดียวแม้เป็นระบบที่ใช้หลายช่องสัญญาณทำให้ต้นทุนการติดตั้งลดลง
        • สายไฟไม่มีขั้วเพื่อลดความเสี่ยงการเชื่อมต่อที่ไม่ถูกต้อง
        • สามารถควบคุมได้ผ่านทางอินเตอร์เฟซโดยระบบคอมพิวเตอร์
        • สามารถเชื่อมต่อได้กับระบบ BMS (LonWorks, EIB) ผ่านเกตเวย์

หมายเหตุ:  

        • จำกัดบัลลาสต์ 64 ตัวต่อระบบบัส DALI (อินเตอร์เฟซ) เท่านั้น
        • จำกัด 16 กลุ่ม ต่ออินเตอร์เฟซเท่านั้น
        • จำกัด 16 ซีนแสงต่ออินเตอร์เฟซเท่านั้น
        • การกำหนดค่าบัลลาสต์ (รวมถึงแอดเดรส), การจัดกลุ่ม และการตั้งค่าซีนแสงอัปโหลดและเก็บไว้ในบัลลาสต์เอง
        • ระบบบัส DALI มีระบบโครงสร้างเครือข่ายแบบอิสระ สามารถทำงานได้โดยใช้อัตราข้อมูลที่ต่ำมาก
        • โปรโตคอลแบบใช้คำสั่ง ส่วนบัลลาสต์ทำหน้าที่หรี่แสงและรักษาระดับ
        • อนุญาตเฉพาะค่าเฟดที่ไม่ต่อเนื่องบางค่าเท่านั้น
        • ด้วยเหตุนี้โปรโตคอล DALI จึงไม่เหมาะสำหรับการทำเอฟเฟกต์และสื่อต่าง ๆ การตั้งค่าจึงมีข้อจำกัดเฉพาะการเรียกใช้งานระดับแสงผ่าน Set Level และ DALI Scene ที่ต้องตั้งค่าไว้ล่วงหน้า
        • ต้องตั้งโปรแกรมระบบก่อนเริ่มใช้งาน
        • การตั้งโปรแกรมจะดำเนินการแตกต่างกันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากหลายผู้ผลิต
        • กำหนดแอดเดรสได้สูงสุด 64 แอดเดรส/ระบบ (โปรดทราบว่าอินเตอร์เฟซจะต้องตั้งโปรแกรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องมีแอดเดรส)
        • สำหรับระบบขนาดใหญ่สามารถสร้างผ่าน ซอฟต์แวร์/เซิร์ฟเวอร์/เกตเวย์ ระบบประเภทนี้มักใช้ข้อมูลเครือข่ายที่มีอยู่ (TCP/IP) ยกตัวอย่างระบบ
          เช่น winDIM@net จาก Tridonic

DMX 512 (Digital Multiplex)
DMX เป็นโปรโตคอลสำหรับการควบคุมระบบไฟส่องสว่างที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ตามนโยบาย ANSI และกำกับดูแลโดย ESTA

ประโยชน์

        • โปรโตคอลใช้งานง่าย
        • เหมาะสำหรับใช้งานกับงานติดตั้งขนาดใหญ่และการจัดแสง
        • ระบบเป็นที่รู้จักพร้อมกับตัวเลือกการควบคุมที่หลากหลาย, ไลท์บ็อกซ์, ซอฟต์แวร์ ฯลฯ เป็นต้น
        • มีแชนเนลมากกว่าแอนะล็อกและสามารถใช้กับคอนโซลใดก็ได้
        • ไม่สามารถตั้งค่าแอดเดรสหรือค่าหลายค่าของไดร์เวอร์หรือคอนโทรลเลอร์ได้
        • โคมไฟแต่ละดวงจะต้องมีพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับการติดตั้ง ยกตัวอย่างเช่น การใช้งาน DIP สวิตช์หรืออินเตอร์เฟซแบบอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากถ้าหากโคมไฟได้ถูกติดตั้งไว้แล้ว
        • ไม่มีโอกาสที่จะรับสถานะการทำงานหรือข้อผิดพลาดกลับมาที่คอนโซล

หมายเหตุ:  

        • ข้อกำหนดพิเศษสำหรับสายคอนโทรลและการติดตั้ง
        • เทอร์มิเนเตอร์เป็นคอนเนคเตอร์ตัวผู้แบบสแตนด์อะโลนที่มีตัวต้านทาน 120 Ω ที่เชื่อมต่อระหว่างคู่สัญญาณข้อมูลหลัก

RDM (Remote Device Management)
การจัดการอุปกรณ์ระยะไกล หรือ RDM มาตรฐาน ANSI E1.20 การจัดการอุปกรณ์ระยะไกลที่ปรับปรุงโปรโตคอล DMX โดยเพิ่มการสื่อสารแบบสองทิศทางระหว่างอุปกรณ์ควบคุมแสงสว่าง (หรือระบบ) และอุปกรณ์ที่สามารถรองรับ RDM ได้

ประโยชน์

        • เข้าถึงการตั้งค่าแอดเดรสสำหรับไดร์เวอร์/คอนโทรลเลอร์ผ่านสายข้อมูลหลัก 3 สาย
        • คอนโซลสามารถค้นหา Universe ของ DMX สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมด แล้วแก้ไขแอดเดรสให้โดยอัตโนมัติ
        • อุปกรณ์ RDM สามารถอัปเกรดเฟิร์มแวร์ผ่านสัญญาณ DMX512 ได้
        • อุปกรณ์ RDM สามารถส่งข้อมูลสถานะและค่าความผิดปกติกลับไปยังคอนโซลได้
        • การสื่อสารแบบสองทิศทางช่วยให้สามารถติดตั้ง DMX ร่วมกับโปรโตคอลอีเทอร์เน็ตที่ซับซ้อน เช่น Art-Net หรือ sACN ได้ง่ายขึ้น

หมายเหตุ:  

        • สามารถใช้สายไฟ DMX512 แบบมาตรฐาน โดยที่สายไฟทั้งสามเส้นเชื่อมต่อกันที่ส่วนท้าย
        • โดยทั่วไป DMX512 จะทำหน้าที่ส่งคำสั่งจากคอนโทรลเลอร์ไปยังแหล่งข้อมูล และ RDM จะอำนวยความสะดวกในการสื่อสารแบบสองทิศทาง ซึ่งมีข้อดีหลายประการและเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการตั้งค่าแอดเดรสและฟังก์ชันอื่นๆ

Zigbee

ประโยชน์

        • Zigbee มีโครงสร้างเครือข่ายที่ยืดหยุ่น
        • มีอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนาน
        • Zigbee ใช้การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบตาข่ายแต่มีต้นทุนที่ต่ำ การส่งข้อมูลแบบมัลติฮอปและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
        • มีความซับซ้อนน้อยกว่าบลูทูธ
        • ติดตั้งได้ง่าย
        • Zigbee สามารถรองรับโหนดได้จำนวนมาก
        • ระยะเวลาการทำงานที่สั้นส่งผลให้ประหยัดพลังงานและปริมาณการใช้พลังงานสำหรับการสื่อสาร

หมายเหตุ:  

        • 2.4 GHz
        • 915 GHz
        • 868 MHz

บลูทูธ/Wifi

ประโยชน์

        • ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟ
        • สามารถรองรับโหนดได้นับพันต่อเครือข่าย
        • ใช้เป็นมาตรฐานของสมาร์ตโฟน
        • ไม่มีจุดบกพร่องแม้แต่จุดเดียว

หมายเหตุ:  

        • 2.4 GHz